รวบรวมไว้อ่านเล่นๆ

 

โรคกระดูกพรุน

กระดูกในร่างกานเรามีการทำลายและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยขั้นตอนเริ่มจากการกระตุ้นให้เกิดการสลาย, การสลายของกระดูก, การสร้างกระดูกใหม่, การสะสมแร่ธาตุ และภาวะสงบนิ่ง(คือไม่มีทั้งการสร้างและการสลาย) ซึ่งในการสลายกระดูกนั้นใช้เวลาประมาณ 1 เดือน แต่การสร้างกระดูกนั้นใช้เวลาถึง 3-4 เดือน ซึ่งจะมีการหมุนเวียนอยู่เช่นนี้อย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ซ้ำที่กัน โดยทั่วไปการหมุนเวียนให้เป็นกระดูกใหม่ทั้งร่างกายจะใช้เวลา 10 ปี

โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่ปริมาณเนื้อกระดูกลดน้อยลง ความแข็งแรงของกระดูกจึงลดลง จึงเสี่ยงต่อการหักของกระดูกได้ง่าย โดยทั่วไปจะไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองนั้นเป็นโรคกระดูกพรุน จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ ล้มและทำให้เกิดการหักของกระดูก หรือมีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจสังเกตได้จากคนแก่ที่จะมีหลังโก่ง หรือเตี้ยลง ในทางการแพทย์ เราจะตรวจพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนโดยการ เอ็กซเรย์กระดูก, วัดความหนาแน่นของกระดูก, ตรวจค่าแลป หรืออื่นๆ

 Image

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน เช่น

  1. ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน เชื่อว่าเกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกจะมีการลดลงของเนื้อกระดูกอย่างมาก
  2. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย
  3. กรรมพันธุ์
  4. สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กาแฟ(มากกว่า 4 แก้วต่อวัน), ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน
  5. ขาดการออกกำลังกายชนิดแบกรับน้ำหนัก
  6. โรค หรือ ยา บางชนิด
  7. คนสูงอายุ โดยเชื่อว่าลำไส้อาจดูดซึมได้ลดลง หรือผิวหนังรับวิตามินดีได้น้อยลง

แนวทางการรักษา

  1. การออกกำลังกายชนิดแบกรับน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกบริเวณที่แบกรับน้ำหนักได้ เช่น วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิกแบบมีแรงกระแทก กระโดดเชือก เป็นต้น โดยควรออกอย่างน้อย 3 วันต่ออาทิตย์ โดยครั้งละ 30 นาที
  2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว น้ำเต้าหู้
  3. เลี่ยงกาแฟ บุหรี่ น้ำอัดลม สุรา
  4. โดยใช้ยา ซึ่งยามีอยู่หลายชนิด เช่น
    1. แคลเซียม ซึ่งปริมาณที่ให้ก็แตกต่างตามอายุ

i.      เด็กและวัยรุ่น        800-1200 มิลลิกรัมต่อวัน

ii.      คนทั่วไป              800

iii.      คนท้อง ให้นมบุตร  1500-2000         มก

iv.      ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน    1500 มก

v.      คนสูงอายุ                        1000  มก

  1. วิตามินดี จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย โดยปกติวิตามินดีสร้างได้จากการถูกแสงแดด ประเทศไทยมีแดดเยอะ ดังนั้น หากคนไทยมีการตากแดดในช่วงเช้าก็จะมีการสร้างวิตามินดีได้เพียงพออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมีการศึกษาพบว่า สตรีสูงอายุไทย มีความชุกในการขาดวิตามินดีสูง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาหารการกินมีวิตามินดีไม่เพียงพอ, ไม่ค่อยได้ออกแดด และผิวหนังมีความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินดีลดลง
  2. ใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนทดทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยควรให้ภายใน 3-5 ปีแรก จะได้ผลดีที่สุด
  3. ฮอร์โมนแคลซิโทนิน
  4. บิสฟอสฟาเนต
  5. ฉีดซีเมนต์รักษากระดูก

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry)

การที่กระดูกมีการสูญเสียเนื้อกระดูกไป ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ดังนั้นการรักษาและป้องกันแต่เนิ่นๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด จึงควรจะต้องมีการตรวจค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อที่จะได้ป้องกันและรักษาก่อนที่จะเกิดการหัก โดยวิธีที่นิยมและเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกก็คือ การตรวจวัดโดยใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ระยะเวลาสั้น รวดเร็ว ใช้เวลาตรวจ 2-5 นาที การตรวจนี้ใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมาก ส่องตามจุดที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาค่าความหนาแน่นของกระดูก และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ได้เป็นค่า T-score ผลที่ได้จะเป็นค่าที่วัดเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของประชากร

Image

  • 0 ถึง  -1 แปลว่า ปกติ
  • -1 ถึง -2.5 แปลว่า กระดูกบาง
  • น้อยกว่า -2.5 แปลว่า กระดูกพรุน

ตัวอย่าง วิธีการอ่านผลตรวจบริเวณกระดูกข้อมือ แนะนำโดยคุณหมอปิยะ (http://drpiya.blogspot.com/2011/07/blog-post_14.html)

Image

อ้างอิง

ที่เขียนมารวบรวม ดัดแปลง คิดเอง ส่วนมากมาจาก ข้อมูลความรู้ของ หมอหมู bloggang http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807